หลังมีการปลดล็อกกัญชา จากที่เป็นสารเสพติดให้โทษประเภท 5 จนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยได้ และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา กัญชาได้กลายมาเป็นพืชที่สามารถปลูกเพื่อใช้ภายในครัวเรือนได้โดยเสรี ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะใช้ทางการแพทย์ หรือเพื่อการสันทนาการ ทำให้หลายคนคิดอยากลองปลูกกัญชากันบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมเลยมีคำแนะนำและเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการปลูกกัญชา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ สายพันธุ์ ขั้นตอนการปลูก รวมถึงลงทะเบียนจดแจ้งปลูกกัญชามาฝากสำหรับมือใหม่กัน ลักษณะของต้นกัญชากัญชา (Cannabis) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis Sativa L. อยู่ในวงศ์ Cannabaceae เป็นพรรณไม้จำพวกหญ้าต้นเล็ก ส่วนคำว่า มาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงของดอกกัญชาที่นำมาสูบนั่นเอง ต้นกัญชาเมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 300 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นมีสีเขียว ตั้งตรง ช่วงเป็นต้นกล้าจะอวบน้ำ เติบโตช้าเฉพาะช่วง 6 สัปดาห์แรก เมื่อมีอายุได้ประมาณ 90-120 วัน จะเริ่มออกดอกเป็นช่อ อัดแน่นอยู่ตามซอกใบและปลายยอด ใช้สำหรับแยกเพศได้ มีใบเดี่ยวแยกเป็นแฉก 5-7 แฉก แต่จำนวนแฉกจะลดลงในช่วงสร้างดอก ขอบใบเว้าลึกถึงเส้นกลางใบและหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายใบแหลม ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ และมีเมล็ดรูปไข่ผิวเรียบเป็นมัน ลายสีน้ำตาล จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเมื่อผลแก่ ![]() สารสำคัญในกัญชามี 2 ชนิด คือ สารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol-CBD) และสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol-THC) ที่อยู่ในช่อดอก ซึ่งพบว่ามีประโยชน์ในทางการแพทย์ เช่น ใช้ในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ แต่เนื่องจากมีผลต่อจิตและระบบประสาท ดังนั้นจึงควรมีการใช้อย่างระมัดระวัง กัญชา และกัญชง แตกต่างกันยังไงหลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดคิดว่า กัญชา และกัญชง คือต้นไม้ชนิดเดียวกัน แต่ กัญชง หรือเฮมพ์ (Hemp) นั้นเป็นพืชวงศ์เดียวกับกัญชา แต่กัญชงเป็นสายพันธุ์ย่อย โดยต้นกัญชงจะจะมีความสูงมากกว่า มีข้อปล้องยาวกกว่าเมื่อเทียบกับต้นกัญชา นอกจากนี้ในส่วนของใบกัญชงยังมีสีซีดกว่า หน้าใบเรียวและแคบกว่า ขนาดเมล็ดใหญ่กว่า และให้ปริมาณสารสำคัญไม่เท่ากัน วิธีแยกเพศกัญชาต้นกัญชามี 2 ชนิดหลัก ๆ แยกได้ตามเพศขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยสังเกตได้จากลักษณะของลำต้น ดอก ใบ และมีการนำประโยชน์แตกต่างกัน ดังนี้
สายพันธุ์กัญชาที่นิยมปลูกต้นกัญชาที่นิยมปลูกกันทั้งในไทยและต่างประเทศ จะแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis Sativa) มีแหล่งกำเนิดจากหลายประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก โคลัมเบีย ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชอบอากาศร้อน ลำต้นหนา ความสูงประมาณ 6 เมตร ใบยาวเรียว สีเขียวอ่อน ใช้เวลาในการเติบโตประมาณ 9-16 สัปดาห์ถึงจะเก็บเกี่ยวได้ และให้สาร THC ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทสูงกว่าอินดิกา 2. สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis Indica) เป็นสายพันธุ์กัญชาที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย และตะวันออกกลาง ชอบที่ร่มและอากาศเย็น มีลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย ความสูงประมาณ 1-2 เมตร กิ่งก้านดกหนา หน้าใบกว้างและสั้นกว่าสายยพันธุ์ซาติวา มีสาร CBD ที่ช่วยออกฤทธิ์ระงับประสาท ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวด จึงนิยมนำไปใช้ทางการแพทย์ โดยสายพันธุ์นี้จะเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยวได้เร็ววกว่าซาติวา ใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ 3. สายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis Ruderalis) มีต้นกำเนิดในทวีปยุโรป มีลักษณะลำต้นเตี้ยที่สุดใน 3 สายพันธุ์ แต่มีระยะการเติบโตเร็วและสามารถอยู่ได้ทั้งในอากาศร้อนและเย็น มีระยะเวลาเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยวประมาณ 30 วัน จุดเด่นอยู่ที่ใบกว้างเรียวยาวมี 3 แฉก โดยทั่วไปแล้วสายพันธุ์นี้มีสาร THC น้อย (เมื่อเทียบกับสองสายพันธุ์แรก) และมีปริมาณ CBD สูง จึงนิยมนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ (Hybrid) กับซาติวาและอินดิกา เพื่อให้ได้คุณสมบัติทางยา การปลูกกัญชา
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม (1) (2), nfc.or.th, cannhealth.org, edcannabis.go.th , opsmoac.go.th, oryor.com และ เฟซบุ๊ก FDA Thai
0 Comments
เพิ่มผลผลิตด้วยเทคนิค LST ในระยะออกดอก
Low Stress Training (LST) เป็นการเทรนที่พืชจะเกิดความเครียดต่ำ ซึ่งสายเขียวน่าจะรู้จักกัญดีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการโน้มกิ่งกัญ (LST) ยังสามารถเทรนได้ในช่วงออกดอก เมื่อต้นกัญชาเปลี่ยนไปอยู่ในระยะออกดอก สามารถเพิ่มความสูงได้เป็นสองเท่าภายในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก เรียกว่า เป็นการยืดดอก การเจริญเติบโตใหม่ทั้งหมดนี้ จำเป็นต้องได้รับการควบคุม เพื่อให้คุณสามารถรักษาทรงพุ่มอันน่าทึ่งที่คุณได้ทำมาตลอดชีวิตของพืชได้ . ดังนั้นเมื่อพืชของคุณเริ่มออกดอก คุณควรระมัดระวังและใช้ LST ต่อไปในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก หากจำเป็น ในขณะที่พืชของคุณเจริญเติบโตเต็มที่ในขั้นสุดท้าย ในช่วงเวลานี้ คุณควรพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสตา (ดอกที่เริ่มก่อตัว) ให้มากที่สุด แต่อย่ากังวลมาก หลังจากเดือนแรกของดอกบาน ตอนนี้คุณต้องรอให้ตาอ้วนขึ้น ณ จุดนี้ พืชของคุณจะใช้พลังงานทั้งหมดในการส่งไปเลี้ยงช่อดอก และโครงสร้างพืชของคุณจะไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงหลายสัปดาห์สุดท้ายของการออกดอก หลังจากดอกบานในช่วงเดือนแรก ทางที่ดีควรใช้ LST เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่น หากโคล่าเติบโตใกล้กับแสงมากเกินไปก็อาจใช้การโน้มกิ่งเข้ามาช่วย หรือบริเวณที่แสงเข้าไม่ถึงหรือเข้าได้น้อยการทำ LST ก็จะช่วยให้พืชสร้างผลผลิตได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้เริ่ม LST ในขณะที่ต้นกัญชากำลังออกดอก LST ที่เหมาะสมจะต้องเริ่มต้นเมื่อพืชอยู่ในระยะการเจริญเติบโต เพราะเมื่อคุณเข้าสู่ระยะออกดอกเต็มที่ โครงสร้างพืชส่วนใหญ่จะไม่เหมาะสม หากคุณทำ LST อย่างถูกต้องในระยะทำใบ พืชจะให้ช่อดอกที่ดี ให้ผลผลิตมากขึ้นจากแสงที่เข้าถึงได้อย่างเหมาะสม ข้อดี LST - อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากแสง และการดัดโค้งงอในรูปแบบต่างๆ - ควบคุมความสูง รูปร่าง และขนาดของกัญชาได้อย่างสมบูรณ์ (มีประโยชน์ทั้งในอาคาร และนอกอาคาร!) - กัญชาผลิตดอกขนาดใหญ่จำนวนมาก แทนที่จะเป็นเพียงดอกตูมหลักเดียว ข้อเสียของการทำ LST - สวนกัญชาขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับวิธีการ LST เพราะมันใช้แรงงานมากเกินไป อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ปลูกจำนวนไม่มาก วิธีการ LST เป็นทางเลือกที่สมบูรณ์แบบ แต่ถ้าเราวางแผนที่จะปลูกจำนวนมาก วิธีการ LST อาจจะทำให้เราเมื่อยมือเอาง่ายๆ ที่มา https://www.growweedeasy.com/low-stress-training-lst Thai Herb Centers วิสาหกิจชุมชน 3 สายพันธุ์เก็บกัญได้เร็ว
สำหรับคนที่ขี้เกียจรอ ต่อไปนี้เป็น 3 สายพันธุ์ที่ทราบกันดีว่าเติบโตเร็วกว่าค่าเฉลี่ยในกรณีที่ต้องการเร่งการเก็บเกี่ยว แนะนำสายพันธุ์ไหนบ้าง ? Early Girl ตามชื่อที่บอกไว้ Early Girl นั้นโตเร็วและอาจให้ดอกตูมที่สุกงอมเพื่อเก็บเกี่ยวภายใน 7 สัปดาห์หลังจากปลูก . OG Kush OG Kush ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติเผ็ดร้อนและมีสาร THC สูง เป็นสายพันธุ์ที่ชื่นชอบตลอดกาลในหมู่คนรักกัญและสามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน 8 สัปดาห์ . Chocolate Skunk Auto เช่นเดียวกับสายพันธุ์ Autoflowering อื่นๆ เช่น Northern Lights Automatic และ Easy Bud, Chocolate Skunk Auto มันสร้างความประทับใจด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วและมักจะสุกภายใน 8 สัปดาห์ . ใครมีสายพันธุ์ไหนที่ให้ผลผลิตน้อยกว่า 7 สัปดาห์แนะนำมาได้เลย . Thai Herb Centers วิสาหกิจชุมชน Malana กับกัญชาพื้นถิ่น
. เช้านี้จะพาไปตามรอยกัญชา ณ หมู่บ้านมาลานา (Malana Village) ซึ่งเป็นหมู่บ้านอินเดีย โบราณ ในรัฐหิมาจัลประเทศ . หมู่บ้านที่โดดเดี่ยวแห่งนี้ตั้งอยู่ ณ หุบเขาด้านข้างของหุบเขาParvatiทางตะวันออกเฉียงเหนือของKullu Valleyและอยู่อย่างโดดเดี่ยวจากส่วนอื่นๆ ของโลก ตั้งอยู่บนที่ราบสูงห่างไกลริมแม่น้ำ Malana ที่ไหลเชี่ยวกราก ที่ความสูง 2,652 เมตร . มีสภาพอากาศที่หนาวเย็น เพราะเป็นที่ราบสูงทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย . ที่นี่เราพบกัญชาที่ไม่เพียงจำกัดอยู่ในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกเท่านั้น แต่ยังปรากฏอยู่เกือบทุกมุมของเมือง . ซึ่งเราสามารถพบได้ทั้งกัญชาป่าและกัญชาบ้านที่มีการผสมพันธ์ุปลูกเพื่อนำมาใช้งาน . ชุมชนพื้นเมืองเหล่านี้ ได้เข้าใจความสำคัญของกัญชามานานแสนนานและค่อยๆปลูก ปรับปรุงพันธุ์และใช้ประโยชน์ ซึ่งมันได้รับการหล่อหลอมอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้เวลาหลายร้อยปีในการปลูกพันธุ์เหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพ . เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองที่น่าสนใจ ที่อยู่คู่หิมาลัยมานานแสนนาน . Cr : ig irrazinig . Thai Herb Centers วิสาหกิจชุมชน ด้วงเต่า (Ladybug, Ladybird, Lady beetle) ส่วนใหญ่เป็นแมลงที่มีประโยชน์ เป็นตัวห้ำที่จับแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารเกษตรกรหรือฟาร์มที่ทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศจำนวนหนึ่งมักจะนำเอาแมลงชนิดนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ฟาร์ม ด้วงเต่า เป็นแมลงปีกแข็งในวงศ์ Coccinellidae อันดับ Coleoptera ทั่วโลกมี 490 สกุล มากกว่า 5,000 ชนิด ในประเทศไทยพบแล้วประมาณ 150 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นแมลงตัวห้ำที่ควบคุมแมลงศัตรูพืช มีส่วนน้อย (มีประมาณ 21 ชนิด) ที่กัดกินพืช เราจะแยกชนิดของด้วงเต่าตัวห้ำ ที่เป็นแมลงที่มีประโยชน์กับ ด้วงเต่าศัตรูพืช ได้อย่างไร ? : 1. ด้วงเต่าตัวห้ำซึ่งเป็นแมลงที่เป็นประโยชน์ จะมีผิวลำตัวมีลักษณะมันเงางาม ไม่มีขนละเอียดปกคลุม มองเห็นส่วนหัวและหนวดได้ไม่ชัดเจน ให้สันนิษฐานในเบื้องต้นได้ว่าเป็นด้วงเต่าตัวห้ำ - แต่หากสังเกตเห็นส่วนหัวและ หนวดได้ชัดเจน จะเป็นด้วงเต่าแตง Aulacophora indica ซึ่งเป็นด้วงเต่าศัตรูพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกับด้วงเต่าตัวห้ำ 2. สำหรับด้วงเต่าที่มีผิวลำตัวปกคลุมด้วยขนเส้นละเอียดเล็กๆอาจเป็นทั้งด้วงเต่าตัวห้ำหรือด้วงเต่าศัตรูพืชก็ได้ ต้องพิจารณาร่วมกับลักษณะอื่นด้วย ดังนี้ - ด้วงเต่าตัวห้ำที่มีขนละเอียดบนปีกแข็ง จะมีลำตัวขนาดเล็กยาวประมาณ 1.0-3.5 มิลลิเมตร ลำตัวส่วนหลังโค้งเป็นรูปทรงกลมและรูปไข่ มีจำนวนจุดบนปีกแข็งน้อย บางชนิดมีลาย แต่บางชนิดไม่มีทั้งจุดและลาย - ด้วงเต่าศัตรูพืชที่มีขนละเอียดบนปีกแข็ง ลำตัวมีขนาดปานกลางถึงขนาดใหญ่ยาวประมาณ 5.0-10.0 มิลลิเมตร ลำตัวส่วนหลังโค้งมากเห็นได้ชัดเจนค่อนไปทางรูปไข่ มีจำนวนจุดบนปีกแข็งค่อนข้างหนาแน่น จำนวนตั้งแต่ 10-28 จุด ด้วงเต่าตัวห้ำทั้งที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทำลายแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว ไข่แมลงศัตรูพืช โดยตลอดชีวิตของด้วงเต่า 1 ตัว สามารถกินเหยื่อได้กว่า 1,000 ตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของด้วงและศัตรูพืชแต่ละชนิด ตัวอย่างเช่น ด้วงเต่าลายรี Cryptogonus orbiculus เป็นด้วงเต่าขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตรลาตัวปกคลุมด้วยขนเล็กๆ อกปล้องแรกสีดำ ปีกแข็งสีดำ ปีกแต่ละข้างมีจุดสีส้มข้างละ 1 จุด กินเพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ทั้งในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย -------- ด้วงเต่าลายหยัก Coccinella transversalis เป็นด้วงเต่าขนาดกลาง ตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร ปีกแข็งพื้นสีแดงหรือสีส้ม มีลายขวางสีดา 3 แถบ เป็นมันวาว กินเพลี้ยอ่อนทั้งในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย --------- ด้วงเต่าสีส้มขอบดำ Micraspis vincta ตัวเต็มวัย มีขนาดยาวประมาณ 0.5เซนติเมตร มีปีกสีเหลืองส้มเป็นมันวาว และมีลายสีดำที่ขอบปีก กินเพลี้ยอ่อนทั้งในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ---------- ด้วงเต่า Coelophora inaequalis เป็นแมลงขนาดกลาง มีความยาวของลำตัวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ลำตัวเป็นเงางามมีปีกแข็งสีเหลืองส้มมีจุดสีดำ 9 จุด บนปีกแข็ง กินเพลี้ยอ่อนทั้งในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ------------- ด้วงเต่าซินโนนีชา Synonycha grandis เป็นด้วงเต่าขนาดใหญ่ ยาว 1-1.45 ซม. กินเหยื่อได้หลายชนิดโดยเฉพาะแมลงที่มีตัวอ่อนนุ่ม เช่น เพลี้ยอ่อน และเพลี้ยไก่ฟ้า -------------- ในหลายประเทศ มีการเพาะพันธุ์ด้วงเต่าเพื่อควบคุมศัตรูพืชเป็นการค้านับร้อยบริษัท ตัวอย่างด้วงเต่าที่นิยมผลิตเพื่อการค้า เช่น Delphastus pusillus ควบคุมแมลงหวี่ขาว ด้วงเต่า Harmonia axyridis และ Hippodamia convergens ควบคุมเพลี้ยอ่อน เป็นต้น |